Thursday, November 15, 2012

การคำนวณ Landed Cost ใน SyteLine ERP

เป็นการบันทึกต้นทุนแฝงให้กับสินค้าที่บริษัทซื้อมาจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่เราจะใช้ในกรณีนี้ ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นทุนสินค้า เพิ่มขึ้นหรือลดลง เช่น ค่าขนส่งขาเข้า ค่าภาษีศุลกากร ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เป็นต้น โดยโปรแกรมจะมีให้เลือก อยู่ 2 แบบ คือ 1) ตามจำนวนเงิน เป็นการปันส่วนต้นทุนให้สินค้าแต่ละตัว ตามมูลค่าของสินค้าหลังหักส่วนลดสินค้าแล้ว ตัวอ่าง ปันส่วนตามจำนวนเงิน โปรแกรมจะคำนวณจาก จำนวนเงินที่กำหนด(Fright) x จำนวนเงินของรายการที่เลือกคำนวณ / จำนวนเงินรวม จากตัวอย่างในรูป 2,000 x 25,000/50,000 = 1,000 เพราะฉะนั้นรายงานในบรรทัดนี้จะได้ ค่า Landed Cost ของค่า Fright เท่ากับ 1,000 บาท 2) ตามอัตรา % เป็นการปันส่วนต้นทุนให้สินค้าแต่ละตัว ตามอัตรา % ที่กำหนด

Friday, November 9, 2012

การวางแผนทรัพยากรกิจการ (Enterprise Resources Planning)

การวางแผนทรัพยากรกิจการ (Enterprise Resources Planning)

อะไรคือ ความสำเร็จอของการ Implement ERP System

อะไรคือ ความสำเร็จอของการ Implement ERP System ?

เคยมีคำถามนี้ในใจกันบ้างหรือเปล่า ว่า อะไรคือ ความสำเร็จของการ Implement ERP System.
คำถามนี้จะถามได้ใน 2 เวลา คือ ตอนที่คิดจะซื้อ กับ ติดตั้งเสร็จแล้ว อย่าเพิ่งงงไปนะครับ
มันคือเรื่องจริงบางครั้ง เมื่อ Implement หรือ ติดตั้งเสร็จแล้ว ยังมีอาการงง  ๆ กันอยู่ว่าเสร็จแล้วเหรอะ
นั้นแหละครับ ลองกลับไปดูนะครับ ที่ Implement เสร็จ นั้นคือ ทำอะไรได้บ้าง ตอบคำถามตอนที่คิดครั้งแรกได้หรือเปล่า งั้นมาลอง ดูความคิดผมนะครับ  ถ้า Implement เสร็จแบบ Full Option ของ ERP ในบ้านเรา จะต้องทำอะไรได้บ้าง
1) Production Module
  •  การรับ Customer Order,Forecast เข้าระบบ,กำหนดราคาขาย,การทำใบเสนอราคา
  • มีการกำหนด สูตรในการผลิต
  • จากนั้นระบบจะทำการ วางแผน สั่งซื้อวัตถุดิบ และ วางแผนผลิตให้ เราเรียกกระบวนการนี้ว่า MRP Process โดยที่ถ้าไม่ใช้ MRP จะทำมาคำนวณเอง ซึ่งไม่ง่ายครับ คุณ มีสินค้าในคลังเป็นจำนวนมาก ๆ
  • สามารถดู สินค้าคงเหลือ ประวัติการใช้ Material ในแต่ละรายการได้
  • รองรับการทำงานสำหรับ Inventory Transaction ต่าง ๆ ได้ เช่น Goods Receive,Job Receipt....
  • การรายงานผลิต และ สามารถติดตามสถานะของงานในแต่ละขั้นตอนได้ ว่าทำถึงไหนแล้ว
  • สามารถทราบต้นทุนผลิตของสินค้าในแต่ละ Lot การผลิตได้ ในทันที
2) Financial Module
  1. ทำ ข้้นตอนของ AR ในระบบ เริ่มตั้งแต่ เปิด Invoice จนถึง AR Payment Posting.
  2. ทำ ขั้นตอนของ AP ในระบบ เริ่มตั้้งแต่ Create Voucher ใบสำคัญจ่าย จนถึง AP Paymnet Posting
  3. ทำ Fixed Asset ในระบบ
  4. บันทึกสินค้า ต้นงวด ปลายงวดในระบบ กรณีปิดแบบ Periodic
  5. ตรวจสอบและ Post GL
  6. ออก งบทดลอง และ ออกงบการเงินในระบบ
หลัก ๆ นะครับ ถ้าทำได้ตามนี้ ผมถือว่า เยี่ยมแล้ว นี่ยังไม่รวม ในเรื่องของ ตรวจสอบ Capacity ของ เครื่องจักร นะครับ คือ ถ้าทำได้ตามข้างบนก็ ถือว่า ERP สำเร็จแล้วครับ





How to fixe database in restoring mode

  RESTORE DATABASE YourDatabaseName WITH RECOVERY;